วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โน๊ตดนตรีเบื้อต้นและบันไดเสียง

1. กุญแจ (Clef)
กุญแจ คือ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่บันทึกไว้ที่บรรทัดห้าเส้น เพื่อกำหนดระดับเสียงโน้ตที่อยู่ในช่องและอยู่บนเส้นของบรรทัดห้าเส้น กุญแจที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 แบบ ดังนี้

1.1 กุญแจซอล หรือกุญแจ G (G clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตซอล (G) อยู่บรรทัดเส้นที่ 2 กุญแจชนิดนี้นิยมมากในกลุ่มนักดนตรี นักร้อง ใช้กับเครื่องดนตรีที่นิยมทั่วไป เช่น กีตาร์ ไวโอลินทรัมเป็ต ฯลฯ กญแจซอลมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ คือ เทรเบิลเคลฟ (Treble clef)

1.2 กุญแจฟา หรือกุญแจ F (F clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้โน้ตฟา (F) อยู่บนเส้นที่ 4 กุญแจชนิดนี้นิยมใช้กับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำ เช่น เชลโล เบส ทรอมโบน ฯลฯกุญแจฟามีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกชื่อคือ เบสเคลฟ (Bass clef)

กุญแจโดเทเนอร์ (Tenor clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับเชลโล และบาสซูน
1.3 กุญแจโด หรือกุญแจ C (C clef) คือ กุญแจที่กำหนดให้เสียงโด (C) อยู่บนเส้นใดก็ได้ของบรรทัดห้าเส้น ให้เป็นเสียงโดกลาง
กุญแจโดอัลโต
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา
กุญแจโดเทเนอร์
กุญแจโดอัลโต (A lot clef) ใช้บันทึกโน้ตที่เล่นกับวิโอลา


2. การเรียกชื่อตัวโน้ต
การเรียกชื่อตัวโน้ตสากลที่นิยมมี 2 ระบบ ได้เเก่

2.1 ระบบโซฟา (So-Fa system) ใช้เรียกตัวโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ดังนี้ โด (Do) เร (Re) มี (Mi) ฟา (Fa) ซอล (Sol) ลา (La) ที (Ti)

2.2 ระบบตัวอักษร (Latter system) ใช้เรียกชื่อโน้ตเรียงลำดับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง
ดังนี้ A B C D E F G โดยใช้ตัวอักษร แทนด้วยตัว ลา

การเรียกชื่อโน้ตในกุญแจ
เมื่อใช้กุญแจซอล (G clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้
เมื่อใช้กุญแจฟา (F clef) เรียงลำดับจากตัวโด ดังนี้

3. เส้นกันห้อง (Bar line)
เส้นกันห้อง คือ เส้นตรงแนวตั้งที่ขีดขวางบรรทัดห้าเส้น เพื่อกั้นแบ่งโน้ตในแต่ละห้อง ให้มีจำนวนจังหวะตามที่เครื่องหมายกำหนดจังหวะกำหนดไว้
3.1 ใช้กั้นห้องเพลง
3.2 ใช้กั้นจบตอนหรือจบท่อนเพลง โดยใช้เส้นกันห้องคู่ (Double Bar Line)
4. การเพิ่มค่าตัวโน้ต
การเพิ่มค่าตัวโน้ต และเพิ่มค่าตัวหยุด สามารถทำได้ดังนี้
4.1 การประจุด (Dot) คือ การประจุดที่ด้านขวาตัวโน้ต หรือที่ตัวหยุด จะมีผลให้ค่าโน้ตนั้นๆเพิ่มมากขึ้นครึ่งหนึ่งของค่าตัวโน้ตนั้น เช่น
  4.2 เครื่องหมายโยงเส้นทาย (Tie) ใช้กับโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกัน จะเพิ่มค่าเท่ากับค่าโน้ตสองตัวรวมกัน โดยจะเล่นที่โน้ตตัวแรก ลากเสียงไปสิ้นสุดที่ตัวสุดท้ายที่เครื่องหมายที่กำหนดไว้ เช่น
                4.3 ใช้สัญลักษณ์เฟอร์มาตา (Fermata) หรือเป็นเส้นโค้งครึ่งวงกลมมีจุดตรงกลาง ใช้บันทึกไว้ที่หัวโน้ต เพื่อเพิ่มค่าตัวโน้ตให้ลากยาวเท่าใดก็ได้ไม่ได้กำหนดไว้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้เล่น เช่น
5. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ คือ ตัวเลขสองตัวที่เขียนไว้หลังกุญแจ คล้ายลักษณะเลขเศษส่วนแต่ไม่มีเส้นขีดคั่นกลาง เลขตัวบนจะบอกว่า 1 ห้องเพลงมีกี่จังหวะ ส่วนเลขตัวล่างบอกโน้ตที่ใช้เป็นเกณฑ์ 1 จังหวะ เช่น
            นอกจากนี้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ ยังมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนตัวเลขได้ เช่น
6. อัตราจังหวะ
อัตราจังหวะ เป็นเครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะ ที่บอกถึงค่าตัวโน้ต และจำนวนจังหวะในแต่ละห้องเพลง อัตราจังหวะ (Time) เป็นกลุ่มโน้ตที่ถูกจัดแบ่งจังหวะเคาะที่เท่าๆ กันในแต่ละห้องเพลงและทำให้เกิดชีพจรจังหวะ (Pulse) คือ การเน้นจังหวะหนัก-เบา กลุ่มอัตราจังหวะโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะคือ
6.1 อัตราจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 2 จังหวะ เช่น
6.2 อัตราจังหวะสามธรรมดา (Simple triple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 3 จังหวะ เช่น
6.3 อัตราจังหวะสี่ธรรมดา (Simple quadruple time) คือ จังหวะเคาะในแต่ละห้องเพลงมี 4 จังหวะ เช่น
เครื่องหมาย  คือ การเน้นจังหวะที่โน้ตในจังหวะที่ 1 ของแต่ละอัตราจังหวะ


แสดงการเคาะอัตราจังหวะ 1 จังหวะ

พื้นฐานการเคาะ 1 จังหวะ อาจใช้การตบเท้าจากจุดเริ่มต้นตบเท้าลง คือ จังหวะตก แล้วยกเท้าขึ้นจุดเดิม คือ จังหวะยก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น