เครื่องหมายประจำจังหวะ ประกอบด้วยสองส่วน คือเลขตัวบน และเลขตัวล่าง ซึ่งวางซ้อนกันอยู่บนบรรทัดห้าเส้น โดยที่ไม่มีเส้นขีดคั้นกลางระหว่างตัวเลขสองตัว
เลขตัวบน แสดงจำนวนจังหวะในหนึ่งห้อง
จากรูป เลขตัวบน เป็น 4 หมายความว่า ในแต่ละห้อง จะมี 4 จังหวะ
ถ้าหากว่าเป็นเลข 2 หมายความว่า ในแต่ละห้อง จะมี 2 จังหวะ
เป็นเลข 6 หมายความว่า ในแต่ละห้อง จะมี 6 จังหวะ ฯ
เลขตัวล่าง แสดงค่าตัวโน้ตและตัวหยุดที่ใช้เป็นเกณฑ์
จากรูป เลขตัวล่างเป็นเลข 4 หมายความว่า โน้ตตัวกลมมีค่าเท่ากับ 4 จัวหวะ ตัวขาวเท่ากับ 2 จังหวะ ตัวดำ เท่ากับ 1 จังหวะ
ถ้าหากว่า เป็นเลข 2 หมายความว่า โน้ตตัวกลมมีค่าเท่ากับ 2 จังหวะ ตัวขาวเท่ากับ 1 จังหวะ ตัวดำ เท่ากับ ½ จังหวะ
หรือ เป็นเลข 8 หมายความว่า โน้ตตัวกลม มีค่าเท่ากับ 8 จังหวะ ตัวขาวเท่ากับ 4 จังหวะ ตัวดำ เท่ากับ 2 จังหวะ
กุญแจซอล กำหนดให้เส้นที่สอง ของบรรทัดห้าเส้นมีชื่อ G ใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงสูง
กุญแจฟา กำหนดให้เส้นที่สี่ ของบรรทัดห้าเส้นมีชื่อ F ใช้บันทึกโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำ
การเรียกอ่านตัวโน้ตที่บันทึกบนบรรทัดห้าเส้น
ชื่อระดับเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
ชื่อตัวอักษร C D E F G A B
ชื่อตัวเลข 1 2 3 4 5 6 7
*เพิ่มเติม 1
จากรูป
เพิ่มเติม 2 เสียงโน้ตจะมีอยู่แค่เจ็ดเสียง และจะวนเป็นกลมไปเรื่อย โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เสียงจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือว่าจะไล่ย้อนกลับ โด ที ลา ซอล ฟา มี เร โด ที ลา ซอล ฟา มี เร โด เสียงก็จะต่ำลงไปเรื่อย ๆ
วิธีการเล่นบนคีบอร์ดหรือเปียโน
จากรูปกุญแจซอลข้างบน ไล่ระดับเสียง โด เร มี ฟา .........ขึ้นไปเรื่อย ๆ เริ่มจากโน้ตเสียงกลาง จากรูปคีบอร์ด ตรงที่เป็นสีเหลือง ทางซ้าย จะเป็นเสียงต่ำ ทางขวาเป็นเสียงสูง ตามรูป
รูปต่อไป จะบอกว่า คีบอร์ดไหนจะเป็นเสียงอะไร
*เพิ่มเติม 3
เรามีอีกรูปหนึ่ง จะแสดงถึงว่า โน้ตแต่ละตัวที่บันทึกลงในกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นกุญแจซอล หรือกุญฟา เอามาเปรียบเทียบว่า โน้ตตัวนั้นจะต้องกดคีบอร์ดอันไหนงับ โดยจากโน้ตแล้วมีลูกศรชี้ไปที่ คีบอร์ดที่ต้องกดงับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น