กุญแจประจำหลัก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"กุญแจซอล" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับดนตรี สำหรับนักร้อง ดูที่ ป่านทอง บุญทอง
กุญแจประจำหลัก (อังกฤษ: clef; ฝรั่งเศส: clé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น
ประเภทของกุญแจประจำหลัก[แก้]
กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียง 3 ชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่าง | ชื่อ | ใช้ระบุโน้ต | ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว |
---|---|---|---|
กุญแจซอล กุญแจประจำหลัก G (G-clef) | เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง | ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง | |
กุญแจโด กุญแจประจำหลัก C (C-clef) | เสียงโดกลาง (middle C) | กึ่งกลางกุญแจโด | |
กุญแจฟา กุญแจประจำหลัก F (F-clef) | เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง | หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด |
การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย (ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น