วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กุญแจฟา



 

กุญแจฟา (F Clef)



กุญแจฟา (ไทย) หรือ กุญแจเบส (Bass Clef) หรือ กุญแจเอฟ (F Clef ) คือกุญแจชนิดเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลายชื่อ
ตำแหน่งของกุญแจชนิดนี้บันทึกคาบอยู่บนเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น  ทำให้โน้ตบนเส้นที่ 4 เป็นโน้ต F ซึ่งอยู่ต่ำกว่าโน้ต C - กลาง (middle C) เป็นระยะคู่ 5


ระดับเสียงบนบรรทัด 5 เส้นที่บันทึกด้วยกุญแจฟา จะเป็นระดับที่เหมาะกับเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงต่ำ เช่น  บาริโทน  ยูโฟเนียม   บาสซูน  ทรอมโบน   เบส  เป็นต้น

เทคนิกการจดจำชื่อระดับเสียงบนเส้นทั้ง 5 เส้น คือพูดประโยคว่า "Good Boys Don't Fight At all."(อักษรตัวแรกของแต่ละคำ คือชื่อของต้วโน้ต)
สำหรับการจดจำชื่อระดับเสียงในช่องทั้ง 4 ช่อง ให้พูดประโยคว่า  "All Cows Eat Grass" หรือ "All Cars Eat Gas."(อักษรตัวแรกของแต่ละคำ คือชื่อของต้วโน้ต)

กุญแจซอล

กุญแจซอล (G Clef)

 
 

  


  




กุญแจซอล (ไทย) หรือ กุญแจเทรเบิล (Treble Clef) หรือ กุญแจจี (G Clef ) คือกุญแจชนิดเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ
ตำแหน่งของกุญแจชนิดนี้บันทึกคาบอยู่บนเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น ทำให้โน้ตบนเส้นที่ 2 เป็นโน้ต G ซึ่งอยู่สูงกว่าโน้ต C - กลาง (middle C) เป็นระยะคู่ 5
 
 
ระดับเสียงบนบรรทัด 5 เส้นที่บันทึกด้วยกุญแจซอล จะ
เป็นระดับที่เหมาะกับเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงสูง เช่น ฟลุ้ต  ไวโอลิน  ทรัมเป็ต เป็นต้น

เทคนิกการจดจำชื่อระดับเสียงบนเส้นทั้ง 5 เส้น คือพูดประโยคว่า "Every Good Boy Does Fine." (อักษรตัวแรกของแต่ละคำ คือชื่อของต้วโน้ต)
สำหรับการจดจำชื่อระดับเสียงในช่องทั้ง 4 ช่อง ให้พูดคำว่า "F A C E."(ทุกตัวอักษรในคำนี้คือชื่อตัวโน้ต)

ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก

ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก[แก้]

กุญแจประจำหลักสามารถวางได้หลายตำแหน่ง ปกติแล้วจะวางไว้ให้คาบเกี่ยวกับเส้นใดเส้นหนึ่งบนบรรทัด และในเมื่อบรรทัดมี 5 เส้น จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 15 แบบในการใช้งาน อย่างไรก็ตามมี 6 แบบที่เป็นการกำหนดซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่น กุญแจซอลที่กำกับเส้นที่สาม จะมีค่าเท่ากับกุญแจโดที่กำกับเส้นที่หนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงเหลือเพียง 9 แบบเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งทุกแบบเคยใช้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ กุญแจซอลบนสองเส้นล่าง กุญแจฟาบนสามเส้นบน และกุญแจโดบนทุกเส้นยกเว้นเส้นที่ห้า (เนื่องจากกุญแจโดบนเส้นที่ห้าซ้ำซ้อนกับกุญแจฟาบนเส้นที่สาม)
ตำแหน่งของกุญแจประจำหลักที่เป็นไปได้ทั้งหมด
แต่สำหรับทุกวันนี้ กุญแจที่ใช้เป็นปกติมีเพียงแค่ กุญแจเทรเบิล กุญแจเบส กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ ซึ่งสองอย่างแรกมักใช้ควบคู่กันบ่อยครั้งกว่า
กุญแจประจำหลักที่ใช้บ่อย

กุญแจประจำหลัก

กุญแจประจำหลัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"กุญแจซอล" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับดนตรี สำหรับนักร้อง ดูที่ ป่านทอง บุญทอง

กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง หมายความว่าโน้ตที่คาบเส้นที่สองจะต้องเล่นเสียงซอล
กุญแจประจำหลัก (อังกฤษclefฝรั่งเศสclé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น

ประเภทของกุญแจประจำหลัก[แก้]

กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียง 3 ชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่างชื่อใช้ระบุโน้ตตำแหน่งที่คาบเกี่ยว
GClef.svg
กุญแจซอล
กุญแจประจำหลัก G
(G-clef)
เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลางส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง
CClef.svg
กุญแจโด
กุญแจประจำหลัก C
(C-clef)
เสียงโดกลาง (middle C)กึ่งกลางกุญแจโด
FClef.svg
กุญแจฟา
กุญแจประจำหลัก F
(F-clef)
เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลางหัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด
การใช้ความแตกต่างของกุญแจประจำหลัก ก็เพื่อให้สามารถบันทึกดนตรีสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงอื่นได้ทุกอย่าง แม้ว่าจะมีธรรมชาติของเสียงที่แตกต่างกัน เช่นเสียงบางอย่างอาจฟังดูแล้วสูงกว่าหรือต่ำกว่าเสียงอื่น ซึ่งเป็นการยากที่จะบันทึกเสียงทุกอย่างโดยใช้กุญแจประจำหลักเพียงชนิดเดียว เนื่องจากบรรทัดมีเพียงแค่ห้าเส้นในปัจจุบัน แต่อาจนำเสนอระดับเสียงของตัวโน้ตไม่เพียงพอต่อจำนวนโน้ตที่วงออเคสตราสามารถสร้างขึ้น แม้จะใช้เส้นน้อย (ledger line) มาช่วยก็ตาม การใช้ความแตกต่างของกุญแจสำหรับเครื่องดนตรีและเสียงแต่ละชนิด มีส่วนช่วยให้เขียนตัวโน้ตได้ง่าย ลดจำนวนการใช้เส้นน้อย และปรับคีย์ดนตรีได้ง่าย ดังนั้นกุญแจซอลจึงใช้แทนการนำเสนอเสียงสูง กุญแจโดสำหรับเสียงกลาง และกุญแจฟาสำหรับเสียงต่ำ

บรรทัดห้าเส้น

บรรทัดห้าเส้น (อังกฤษอเมริกัน: staff; อังกฤษบริเตน: stave) คือกลุ่มของเส้นตรงตามแนวนอน 5 เส้น และอยู่ห่างเป็นระยะเท่ากันเป็นจำนวน 4 ช่อง ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตตามระดับเสียง ซึ่งสามารถแสดงได้ด้วยความสูงต่ำของตัวโน้ตที่ปรากฏบนบรรทัดห้าเส้น การนับเริ่มต้นเส้นที่หนึ่งจากล่างสุด แล้วนับขึ้นมาตามลำดับจนถึงเส้นที่ห้า การนับช่องก็นับจากล่างขึ้นบนเช่นกัน ตัวโน้ตสามารถบันทึกให้คาบเกี่ยวกับเส้น หรือเขียนลงในช่องระหว่างเส้น เหนือหรือใต้บรรทัด ดังนั้นบรรทัดห้าเส้นจึงสามารถบันทึกระดับเสียงของตัวโน้ตได้ 11 ระดับ สำหรับเสียงที่สูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ จะใช้เส้นน้อย (ledger line) เข้ามาช่วย
การที่จะบ่งบอกว่าตัวโน้ตที่บันทึกอยู่เป็นเสียงอะไร สามารถดูได้จากกุญแจประจำหลักที่กำกับอยู่ เช่นกุญแจซอลที่คาบอยู่บนเส้นที่สองโดยพื้นฐาน จะทำให้ทราบว่าโน้ตที่คาบอยู่บนเส้นที่สองเป็นเสียง ซอล หากไม่มีกุญแจประจำหลักบนบรรทัดห้าเส้น ก็จะไม่สามารถอ่านโน้ตได้ ปกติแล้วการอ่านโน้ตจะอ่านจากซ้ายไปขวา หมายความว่าตัวโน้ตที่อยู่ถัดจากตัวก่อนหน้าต้องเล่นทีหลัง และบรรทัดห้าเส้นมักจะแบ่งเป็นห้องเพลงด้วยเส้นกั้นห้อง เปรียบเหมือนกราฟของระดับเสียงเทียบกับเวลา
ด้านล่างนี้คือตำแหน่งของตัวโน้ต 11 ระดับเสียง ที่สามารถบันทึกบนบรรทัดห้าเส้น
Music Staff.svgMusic 1d1.svgMusic Staff.svgMusic 1e1.svgMusic Staff.svgMusic 1f1.svgMusic Staff.svgMusic 1g1.svgMusic Staff.svgMusic 1a1.svgMusic Staff.svgMusic 1b1.svgMusic Staff.svgMusic 1c2.svgMusic Staff.svgMusic 1d2.svgMusic Staff.svgMusic 1e2.svgMusic Staff.svgMusic 1f2.svgMusic Staff.svgMusic 1g2.svgMusic Staff.svg

บรรทัดรวมใหญ่[แก้]

การบันทึกตัวโน้ตในสมัยก่อนใช้บรรทัด 11 เส้นและมี 10 ช่อง สำหรับเครื่องดนตรีบางชนิดมีช่วงของระดับเสียงที่กว้างมากเช่น เปียโน ออร์แกน ฮาร์ป และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการอ่านโน้ต ต่อมาจึงได้แยกออกเป็นสองชุด ชุดละห้าเส้น โดยละเส้นที่หกออกไป (เส้นกลาง) ชุดบนใส่กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง (กุญแจเทรเบิล) ชุดล่างใส่กุญแจฟาคาบเส้นที่สี่ (กุญแจเบส) แล้วใช้วงเล็บปีกกาคร่อมไว้ที่ต้นบรรทัดเพื่อบ่งบอกว่าให้เล่นพร้อมกัน เส้นกั้นห้องก็จะยาวเชื่อมกัน รวมเรียกว่า บรรทัดรวมใหญ่ (great/grand staff) สำหรับเสียงโดกลางบนบรรทัดรวมใหญ่ สามารถเขียนให้คาบเส้นน้อยใต้บรรทัดชุดบน หรือเหนือบรรทัดชุดล่าบรรทัด 11 เส้น
บรรทัดรวมใหญ่ในปัจจุบัน